การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินธรรมชาติ
การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อดินธรรมชาติ
การเลี้ยงปลาดุกแบบบ้านๆ ในบ่อดินธรรมชาติเรียกได้ว่าทั้งประหยัด ง่ายต่อการเริ่มทำธุรกิจเพราะการลงทุนในบ่อดินไม่แพงเหมือนบ่อซีเมนต์ จึงทำให้การตัดสินใจทำได้ง่ายมาก
การเตรียมบ่อ
ให้ใช้ปูนขาวปรับสภาพดินให้เหมาะกับการเลี้ยงปลาดุก 60 ถึง 100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยให้ทั่วบริเวณบ่อ ใส่ปุยคอก 200กิโลกรัมต่อไร่ แล้วปล่อยน้ำเข้า ประมาณ 50 Cm. ปล่อยทิ้งไว้ 5 วัน หรือสังเกตุจากสีของน้ำถ้าเป็นสีเขียวก็ใช้ได้ครับ ตรวจวัดความเป็นกรดด่างให้อยู่ 7.5 – 8.5 ถ้ายังไม่ถึงให้เติมปูนขาวเพิ่มได้อีก
ข้อแนะนำ ควรมีการทำร่มเงาให้เป็นที่พักจากความร้อนของลูกปลา เพื่อลดการตายของลูกปลาจากความร้อน
การเตรียมพันธ์ปลา
ควรเลือกลูกปลาทีมาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นอันดับแรก ส่วนการดูลูกปลานั้นให้เลือกที่มีความแข็งแรง วายน้ำได้เร็ว ลำตัว หน่วด ครีบ หาง สมบูรณ์ ไม่ว่ายน้ำหงายท้องหรือ ตั้งฉากกับน้ำ
ก่อนการปล่อยลูกปลาลงสู่บ่อควรเอาถุงปลาแช่น้ำในบ่ 10-15 นาทีเพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิให้เเท่ากัน ป้องกันการช็อคน้ำของลูกปลา ขนาดลูกลูกปลาที่จะปล่อยควรมีขนาดเท่ากับนิ้วมือ จะเพิ่มอัตราการรอดให้มากยิ่งขึ้นครับ ปริมาณที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาอยู่ที่ 80,000-100,000 ตัวต่อไร่
การเลือกอาหารปลา
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญลำดับต้นๆ ของการเลี้ยงปลาดุก เพราะต้นทุนกว่า 80% ของการเลี้ยงปลาดุกอยู่ที่อาหารครับ เราจึงต้องพิถีพิถันในการเลือกอาหารปลาให้มาก ไม่ว่าจะเป็นสีสัน กลิ่น ขนาดของเม็ด การลอยตัวในน้ำ ล้วนต้องเอาใจใส่มากๆเลย
1. เลือกอาหารให้เหมาะกับอายุของปลาด้วย หากเลือกไม่เหมาะสม จะทำให้ปลากินอาหารไม่ได้ หรือ การให้อาหารไม่เพียงพอ
– ลูกปลาดุกขนาด 1-4 เซ็นติเมตร เลือกใช้อาหารปลาดุกขนาดเล็กพิเศษ
– ลูกปลาดุกขนาด 3 เซ็นติเมตร เลือกใช้อาหารสำหรับปลาดุก 1-3 เดือน
2. ขนาดของเม็ดต้องใกล้เคียงกัน ไม่มีกลิ่นหืน ไม่เป็นฝุ่น
3. การลอยตัวในน้ำ ไม่ควรจมลมเร็วเกินไปครับ เพราะนั่นหมายถึงอาหารปลาอาจจะมีความชื้นมากเกินไป
4. ระวังอาหารปลาที่ขึ้นราด้วยนะครับ เพราะจะเป็นสาเหตุให้ลูกปลาตายได้จำนวนมาก
ข้อแนะนำ
ก่อนการเริ่มปล่อยปลาลงสู่บ่อ ควรมีการวัดอัตราการกินอาหารของลูกปลา เพื่อไม่ให้อาหารมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะทำให้ผลกำไรน้อยลง
ขอบคุณที่มา : สภาเกษตรกรแห่งชาติ