เตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ให้ระวัง ด้วงหนวดยาวอ้อย ในระยะแตกกอและปลูกใหม่
เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกอ้อย ให้ระวังด้วงหนวดยาวอ้อย ในระยะแตกกอ และปลูกใหม่
สภาพอากาศ ในช่วงนี้สภาพอากาศแห้งแล้ง อุณหภูมิสูงตอนกลางวัน และอุณหภูมิต่ำตอนกลางคืน เตือน ผู้ปลูกอ้อย ในระยะ แตกกอ ปลูกใหม่ รับมือด้วง หนวดยาว อ้อย ตัวหนอนของ ด้วง หนวด ยาว อ้อยเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะ เริ่มปลูกอ้อย โดยเจาะไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์ไม่งอก หน่ออ้อยอายุ ๑–๓ เดือน จะถูกกัดกินตรงส่วนโคนที่ติดกับเหง้าให้ขาดออก ทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย เมื่ออ้อยมีลำแล้ว พบว่าการเข้าทำลายของ ด้วง หนวด ยาว อ้อย จะทำให้กาบใบและใบอ้อยแห้งตายทั้งต้นหรือทั้งกออ้อย หนอนที่มีขนาดเล็กจะกัดกินบริเวณเหง้าอ้อย ทำให้การส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบน้อยลง เมื่อหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้น จะเริ่มเจาะไชจากส่วนโคนลำต้นขึ้นไปกินเนื้ออ้อย ทำให้ลำต้น เป็นโพรงเหลือแต่เปลือก ลำต้นอ้อยหักล้มและแห้งตาย
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
ทำการป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน ได้แก่
๑. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีกล
– ไถพรวนดินแล้วเก็บตัวหนอนและดักแด้ของ ด้วง หนวด ยาว อ้อย ตามรอยไถ ก่อนปลูกอ้อย
– อ้อยระยะแตกกอ ถ้าพบกออ้อยที่มีหน่ออ้อยแห้งตายให้ขุดกออ้อย และเก็บตัวหนอน ด้วง หนวด ยาว อ้อย ออกไปทำลาย
๒. การป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ
– โรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา ๑๐ กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์พร้อมปลูก(สำหรับอ้อยปลูก)
– เปิดร่องอ้อยแล้วโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา ๑๐ กิโลกรัมต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน (สำหรับอ้อยตอ)
๓. การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
ในพื้นที่ที่มีการระบาดของ ด้วง หนวด ยาว อ้อย อย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
การใช้สารเคมีชนิดน้ำ
– พ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๘๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อัตรา ๓๒๐ มิลลิลิตรต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูก แล้วกลบดิน (สำหรับอ้อยปลูก)
– เปิดร่องอ้อย แล้วพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๘๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อัตรา ๓๒๐ มิลลิลิตรต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน (สำหรับอ้อยตอ)
การใช้สารเคมีชนิดเม็ด
– โรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล ๐.๓% จี อัตรา ๖ กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน (สำหรับอ้อยปลูก)
– เปิดร่องอ้อยแล้วโรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล ๐.๓% จี อัตรา ๖ กิโลกรัมต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน (สำหรับอ้อยตอ)
หมายเหตุ
– กรณีการใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม และสารเคมี ขณะใช้ดินต้องมีความชื้น หรือเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้
ขอบคุณที่มา : facebook เพจ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร