สารพันความรู้เทคนิคเกษตร
เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกมะม่วงให้ระวัง เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
เตือนเกษตรกร ผู้ปลูกมะ ม่วงให้ระวัง เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
เตือนเกษตรกรผู้ปลูก มะ ม่วง ในระยะ แทงช่อดอก – พัฒนาผล รับมือ เพลี้ย จัก จั่น มะ ม่วง ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ระยะที่ทำความเสียหายให้มากที่สุด คือ ระยะที่มะ ม่วงกำลังออกดอกโดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อย หรือ ไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นมะ ม่วงดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะ ม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสง ใบอ่อนที่ถูกดูดน้ำเลี้ยง (โดยเฉพาะระยะใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบจะมีอาการปลายใบแห้งให้สังเกตได้
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิต ช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่นมะ ม่วงลง ทำให้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2. ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัด มะ ม่วงจะไม่ติดผลเลย จึงควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20ลิตร หรืออิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนมะม่วงออกดอก 1 ครั้ง เมื่อช่อดอกบานแล้วไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร และหมั่นตรวจดูตามช่อดอกอยู่เรื่อยๆ
3. การพ่นสารฆ่าแมลงให้มีประสิทธิภาพควรพ่นให้ทั่วถึงลำต้น มิเช่นนั้นตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นสารฆ่าแมลงไม่ถึง นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงการปรับหัวฉีดให้เป็นละอองฝอย และระยะเวลาการพ่น
4. ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกและใบ เพื่อช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากโรคราได้บ้าง ถ้าแรงอัดฉีดของน้ำแรงพอก็ช่วยให้เพลี้ย จักจั่นมะ ม่วงในระยะตัวอ่อนกระเด็นออกจากช่อดอกได้ ต้องระมัดระวังอย่าให้กระแทกดอกมะ ม่วงแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ดอกหรือผลที่เริ่มติดร่วงได้
5. ใช้กับดักแสงไฟ ดักตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นไฟ
ขอบคุณที่มา : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร