สารพันความรู้เทคนิคเกษตร

เกษตรกรเคยสงสัยไหมว่า ? ระยะการควบคุมวัชพืชของยาคุมหญ้าแต่ละชนิด ระยะเวลาสั้นยาวต่างกัน แล้วเราจะสังเกตได้จากอะไร เราไปดูกันเลย

เกษตรกรเคยสงสัยไหมว่า ? ระยะการควบคุมวัชพืชของยาคุมหญ้าแต่ละชนิด ระยะเวลาสั้นยาวต่างกัน แล้วเราจะสังเกตได้จากอะไร เราไปดูกันเลย

เกษตรกรเคยสงสัยไหมว่า ? ระยะการควบคุมวัชพืชของยาคุมหญ้าแต่ละชนิด ระยะเวลาสั้นยาวต่างกัน แล้วเราจะสังเกตได้จากอะไร เราไปดูกันเลย
เกษตรกรเคยสงสัยไหมว่า ? ระยะการควบคุมวัชพืชของยาคุมหญ้าแต่ละชนิด ระยะเวลาสั้นยาวต่างกัน แล้วเราจะสังเกตได้จากอะไร

ประสิทธิภาพสารประเภทใช้ทางดิน (pre-emergence herbicides) แต่ละชนิด มีระยะเวลาในการควบคุมวัชพืชแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับค่า DT50 (Dissipation half life time in soil) หรือ ระยะครึ่งชีวิตในดิน

DT50 หมายถึง ระยะเวลาที่ความเข้มข้นของสารกำจัดวัชพืช จะลดลงเหลือ 50% ของปริมาณเริ่มต้นที่ใส่ลงในดิน

ยกตัวอย่าง อะลาคลอร์มีค่าครึ่งชีวิตในดิน นาน 15 วัน

สมมติ เริ่มต้นด้วยการพ่นอะลาคลอร์ลงดินในอัตราแนะนำคือ 240 กรัมต่อไร่

หลังจากเวลาผ่านไป 15 วัน ปริมาณอะลาคลอร์ในดินจะลดลง 50% เหลือ 120 กรัม ,

และ เมื่อเวลาผ่านไป 30 วัน ปริมาณอะลาคลอร์ในดินจะลดลงอีก50% เหลือเพียง 60 กรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวจะไม่เพียงพอสำหรับกำจัดวัชพืช

ดังนั้น ในสภาพความเป็นจริง เราจะสังเกตเห็นวัชพืชเริ่มงอกใหม่จากเมล็ด หลังจากพ่นอะลาคลอร์ไปแล้ว 30 วัน

สารใดที่สามารถคงทนอยู่ในดินได้นาน สารนั้นก็มีฤทธิ์ควบคุมวัชพืชได้นานเช่นกัน

ความคงทนในดิน แบ่งเป็น 3 ระดับ (ตามภาพประกอบ) คือ

ต่ำ < 30 วัน

ปานกลาง 30-100 วัน

สูง >100 วัน

ค่าที่แสดงในตารางเป็นค่าเฉลี่ยจากการทดลอง (อย่างน้อย 5 การทดลอง) ในสภาพห้องปฎิบัติการที่ควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 20 องศาเซลเซียส และความชื้นดิน 40-50% โดยใช้ดินที่มีคุณสมบัติต่างกัน ดังนั้น ค่า DT50 จึงไม่ใช่ค่าตายตัวสำหรัยการใข้งานจริงในสภาพไร่นาแต่ละแห่ง เพราะความคงทนในดินมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าความเป็นกรดหรือด่าง (pH) ของดิน อุณหภูมิดินขณะพ่นสาร ความชื้นในดิน ชนิดดิน (ร่วน เหนียว หรือทราย) อินทรีย์วัตถุในดิน ปริมาณน้ำฝน ความสามารถในการละลายน้ำของสาร และปริมาณจุลินทรีย์ในดินที่สามารถย่อยสลายสารนั้นๆ

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ค่า DT50 ในแต่ละแห่งอาจต่ำหรือสูงกว่าค่าที่แสดงไว้ในตารางได้ เช่น สารในกลุ่มไตรอะซีน เช่น อะทราซีน จะคงทนในดินได้นานขึ้นในสภาพดินด่าง ส่วนสารในกลุ่ม ซัลโฟนิลยูเรีย หรือ อิมิดาโซลิโนน เช่น อิมาซาพิค อิมาซาเพอร์ สามารถคงทนในดินได้นานขึ้นในสภาพดินกรด เพราะ สารเหล่านั้นจะถูกดูดยึดโดยอนุภาคดินได้มากขึ้น จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ลดลง และการชะล้างในดินลดลง

การเลือกระดับความคงทนในดิน..ควรให้สอดคล้องกับระยะปลอดวัชพืชของพืชปลูกแต่ละชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว มีอายุเก็บเกี่ยว 90-120 วัน ต้องการระยะปลอดวัชพืชในระยะ 30 วันหลังปลูก ดังนั้น จึงสามารถเลือกใช้สารที่มีความคงทนต่ำ เพื่อการควบคุมวัชพืชในช่วงเดือนแรก ลดโอกาสตกค้างในผลผลิตและผลกระทบที่อาจมีต่อพืชที่จะปลูกตามในฤดูต่อไป

ส่วนพืชที่อายุเก็บเกี่ยวนาน 10-12 เดือน เช่น อ้อย หรือ มันสำปะหลัง เกษตรกรควรเลือกสารที่มีความคงทนในดินปานกลาง-สูง แต่ต้องคำนึงถึงวิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ให้กระทบกับผิวดินที่พ่นสารคลุมไว้ โดยปรับวิธีใส่ปุ๋ยเป็นแบบกรีดร่องหรือเจาะหลุมระหว่างต้น เพื่อลดการรบกวนผิวดิน

แต่หากเกษตรกรต้องการใสปุ๋ยแบบโรยแถวและไถกลบ หลังปลูกอัอยหรือมันสำปะหลังในช่วง 2 เดือนแรก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารในกลุ่มที่มีความคงทนสูงตั้งแต่เริ่มปลูก

อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ทางดิน (ยาคุม) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะความคงทนในดินอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารที่จะควบคุมวัชพืชนิดใดบ้าง เหมาะกับชนิดวัชพืชที่พบในแปลงนั้นๆหรือไม่ ความเป็นพิษต่อพืชประธาน วิธีการพ่นและอัตราใช้สารเหมาะสมกับชนิดดินหรือไม่

ขอบคุณที่มา : สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button