เคล็ดลับ !! ปลูกข้าวโพดหวาน สร้างรายได้ตลอดทั้งปี
เคล็ดลับ !! ปลูกข้าวโพดหวาน สร้างรายได้ตลอดทั้งปี
วิธีปลูกข้าวโพดหวาน
ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม
-ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับใช้เมื่อจำเป็น
-ช่วงปลูกที่ให้ผลผลิตสูงมีคุณภาพดี ควรอยู่ในฤดูหนาวระหว่างเดือน ตุลาคม – มกราคม หรือดินฤดูฝน เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม
การวิเคราะห์ดินก่อนปลูก
ถ้าดินมีความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้ใส่ปูนขาวอัตรา 100 – 200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้ว ไถพรวนดิน และถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5
ก่อนพรวนดินให้ใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 500 – 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปลูกถั่วเขียวอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ หรือปลูกถั่วพร้าอัตรา 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือหลังเก็บผักข้าวโพดหวานแล้วไถกลบต้นข้าวโพด เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
การเตรียมดิน
การเตรียมดินถือเป็นหัวใจของการปลูกข้าวโพดหวานให้ได้ผลผลิตสูง เพราะถ้าดินมีสภาพดีเหมาะกับการงอกของเมล็ดจะทำให้มีจำนวนต้นต่อไร่สูง ผลผลิตต่อไร่ก็จะสูงตามไปด้วยการเตรียมดินที่ดีควรมีการไถดะและทิ้งตากดินไว้ 3-5 วัน
จากนั้นจึงไถแปรเพื่อย่อยดินให้ แตกละเอียดไม่เป็นก้อนใหญ่เหมาะกับการงอกของเมล็ด ควรมีการหว่านปุ๋ยคอกเช่นปุ๋ยขี้ไก่เป็นต้น อัตราประมาณ 1 ตันต่อไร่ก่อนการไถแปร เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นสามารถอุ้มน้ำได้นานขึ้น และยังเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพดหวาน
วิธีทำปุ๋ยใช้เอง
1.ปุ๋ยหมักสูตร 16-16-16 และปุ๋ยหมักชีวภาพสูตร 15-15-15
วัตถุดิบต่อส่วนผสม
รำอ่อน 1 ส่วน
ดินดี 1 ส่วน
แกลบดิบ 1 ส่วน
แกลบดำ 1 ส่วน
มูลสัตว์ 1 ส่วน
พืชตระกูลถั่ว 1 ส่วน
2. ปุ๋ยหมักสูตร 16-20-0
วัตถุดิบต่อส่วนผสม
รำอ่อน 1 ส่วน
ดินดี 2 ส่วน
แกลบดิบ 4 ส่วน
แกลบดำ 4 ส่วน
มูลสัตว์ 4 ส่วน
พืชตระกูลถั่ว 4 ส่วน
ขั้นตอนและวิธีการทำปุ๋ยหมัก
1.นำส่วนผสมทั้งหมด(ยกเว้นรำอ่อนให้ใส่หลังสุด) นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.เกลี่ยส่วนผสมออกเป็นวงกลมแล้วนำน้ำหมักที่ผสมไว้แล้วราดลงไปให้ทั่วกองปุ๋ยโดยให้เปียกพอประมาณ ความชื้นประมาณ 60%
โดยอัตราส่วนในการผสมน้ำหมักชีวภาพ นำกากน้ำตาล 2 ช้อนแกงลงผสมกับน้ำหมัก 2-8 ช้อน แล้วเติมน้ำ 20 ลิตรคนให้เข้ากันนำใส่บัวรดน้ำรดกองปุ๋ย
ข้อแนะนำและควรปฏิบัติ
1.ในการผสมปุ๋ยและเก็บปุ๋ยควรทำในร่มหรือในโรงเรือน
2.ในระยะ 7 วันแรกปุ๋ยจะมีความร้อนสูง ควรพลิกกลับปุ๋ยทุกวันในระยะ 2-7 วันแรก
3.การเก็บปุ๋ยไม่ควรซ้อนกันเกิน 5 ชั้น
4.หลังจากปุ๋ยคลายความร้อนแล้วนำไปใช้งานได้
5.น้ำที่ใช้ผสมกับกากน้ำตาลหรือน้ำหมักให้ใช้น้ำซาวข้าวแทนได้จะทำให้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การผลิตปุ๋ยหมักสูตร“โบโบชิ”เทียบเคียงปุ๋ยเคมี 46-0-0
วัสดุสำหรับการผลิตปุ๋ยสูตรเทียบเคียงปุ๋ย 46-0-0(โบโบชิ)
– รำ 1 กระสอบ
– แกลบดิบ 1 กระสอบ
– มูลไก่ 1 กระสอบ
– ขี้ค้างคาว 6 กิโลกรัม
– น้ำหมักชีวภาพ พด.2 หรือ EM
– กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย
วิธีการทำ
– ผสมรำ แกลบดิบ มูลไก่ ขี้ค้างคาว คนให้เข้าด้วยกันกองบนพื้นราบ
– ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด. 2 ถ้าไม่มีให้ใช้ EM พร้อมกับใช้กากน้ำตาลรดบนกองขณะผสมวัสดุทำปุ๋ยให้ได้ความชื้นที่ 60 % วัดความชื้นที่เหมาะสมได้จากการกำวัสดุที่ผสมแล้วให้แน่นแล้วปล่อยให้อยู่ในอุ้งมือ ถ้าความชื้น 60 % จะติดกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน
– ตักปุ๋ยที่ได้บรรจุใส่ในกระสอบฟาง อย่าใส่จนเต็มกระสอบ จากนั้นมัดปากกระสอบ เก็บเข้าไว้ในที่ร่ม หมั่นกลับกระสอบทุกวัน โดยวันแรกวางกระสอบไว้แนวนอน
– จากนั้นกลับกระสอบไปมาวันละ 1 ครั้งจนครบ 7 วัน ในวันที่ 7 ให้วางกระสอบในแนวตั้งจากนั้นเปิดปากกระสอบระบายความร้อนทิ้งไว้อีก 1 คืน จะได้ปุ๋ยหมักโบโบชิสามารถนำไปใช้ได้
วิธีการนำไปใช้
– ใช้หว่านบนแปลงปลูกพืช ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตารางเมตรแทนการใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0
วิธีทำหัวเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็ม (EM.) สูตรเร่งรัด
อุปกรณ์
– น้ำมะพร้าว 5 – 6 ลูก
– กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม หรือน้ำตาลทรายแดง ห้ามไช้น้ำตาลทรายฟอกขาวเด็ดขาด
– สับปะรด 2 ลูก (ถ้าเป็นลูกแก่มากๆ ได้จะยิ่งดี)
– ถังพลาสติก ที่มีฝาปิด 1 ใบ
วิธีทำ
1 หั่นสับปะรดทั้งลูก ทั้งเปลือกและเนื้อ เป็นชิ้นเล็ก ๆ จะได้จุลินทรีย์เร็วขึ้น
2 ปอกมะพร้าวอ่อนผ่าเอาแต่น้ำมะพร้าว 4 – 5 ลูก นำส่วนผสม น้ำมะพร้าว สับปะรด และกากน้ำตาล มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ถังพลาสติกปิดฝาทิ้งไว้ในที่ร่ม (ให้คนกลับไปกลับมาในถัง ทุก 2-3 วันต่อครั่ง) ประมาณ 1 -2 เดือน จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็มที่มีสีน้ำตาล กลิ่นหอมๆ ไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป หรือ กรอกใส่ขวดน้ำอัดลมเก็บไว้ได้นานๆ แต่หามโดนแสงแดดเก็บไว้ในที่ร่ม เพราะ เดียวจุลินทรีย์ตายหมด
น้ำหมักหน่อไม้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
น้ำหมักหน่อไม้ 1 ลิตร ผสม้ำ 10 ลิตร ฉีด ข้าวโพดหวาน โดยฉีดพ่นทุก 2-3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง รับรองไม่มีแมลงศัตรูมารบกวนทำลายผลผลิต ทั้งประหยัต้นทุนและปลอดภัยต่อตัวเองและผู้บริโภค
อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันองค์ความรู้ เกษตรอินทรีย์วิทยาลัยชุมชน
ขอบคุณที่มา : รักปลูก