สารพันความรู้เทคนิคเกษตร

เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วง เฝ้าระวังการระบาดของโรคราดำ มักพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น

เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วง เฝ้าระวังการระบาดของโรคราดำ มักพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น

ระยะนี้จะเข้าสู่ช่วงที่มีอากาศเย็น กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงเฝ้าระวังการระบาดของโรคราดำ มักพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น เช่น ใบ ยอด ช่อดอก และผล ซึ่งจะทำให้ช่อดอกบานช้า หรือบานผิดปกติ เหี่ยว และหลุดร่วงลงได้ บางครั้งอาจทำให้ไม่ติดผล

เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วง เฝ้าระวังการระบาดของโรคราดำ มักพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น
พบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น เช่น ใบ ยอด ช่อดอก และผล

ถ้าพบอาการของโรคราดำที่ผลมะม่วง จะทำให้ผลเหี่ยวและหลุดร่วงในที่สุด โดยมากจะพบการระบาดของโรคราดำในช่วงที่มีแมลงปากดูด อาทิ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง

เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วง เฝ้าระวังการระบาดของโรคราดำ มักพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น
โรคราดำ

หากพบการระบาดของโรคราดำ ให้เกษตรกรพ่นด้วยน้ำเปล่าล้างสารเหนียวที่แมลงปากดูดขับถ่ายไว้และคราบราดำ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค เนื่องจากเชื้อราสาเหตุโรคจะเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด ขับถ่ายไว้ คือ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง ดังนั้น เกษตรกรควรพ่นด้วยสารกำจัดแมลง

เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วง เฝ้าระวังการระบาดของโรคราดำ มักพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้น
โรคราดำ

กรณีพบเพลี้ยจักจั่น ให้พ่นด้วย

  • สารแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
  • สารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
  • สารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 

หากพบเพลี้ยหอย ให้พ่นด้วย

  • สารมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ส่วนถ้าพบเพลี้ยแป้ง ให้พ่นด้วย

  • สารมาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
  • สารไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ doa.go.th

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button