ข่าวเกษตรสารพันความรู้เทคนิคเกษตร

เผยเคล็ดลับ !! การใช้ไกลโฟเซต ให้ได้ผลดีที่สุด

เผยเคล็ดลับ !! การใช้ไกลโฟเซต ให้ได้ผลดีที่สุด

เรื่องง่ายๆ ที่หลายคนมองข้ามในการใช้ไกลโฟเซต ส่งผลให้วัชพืชตายบ้างหรือไม่ตายบ้าง เมื่อวัชพืชไม่ตายก็ต้องพ่นซ้ำทำให้เสียเวลาและเสียเงินโดยใช่เหตุ

เคล็ดลับในการใช้ไกลโฟเซค ให้ได้ผลดี คือ

1. วัชพืชตั้งอยู่ในระยะเจริญเติบโตมีพื้นที่ใบสีเขียว ที่จะให้ละอองไกลโฟเซตเกาะที่ใบมากพอที่จะเข้าสู่ต้นพืช

หากมีพื้นที่ใบน้อยเกินไป โอกาสที่ไกลโฟเซตจะเกาะที่ใบพืชมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะตกสู่ผิวดินและถูกอนุภาคดินดูดยึดไว้ ทำให้หมดฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืช

กรณีวัชพืชแก่เกินไป ให้ตัด หญ้าก่อนและรอให้วัชพืชแตกใบใหม่ขึ้นมาเล็กน้อยก่อน จึงพ่นไกลโฟเซต

2. สภาพแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอุณหภูมิ และความชื้นในดิน

ไม่ควรพ่นไกลโฟเซตในขณะที่ต้นวัชพืชเหี่ยวเพราะขาดน้ำ หรือมีน้ำขัง เพราะไกลโฟเซตจะไม่สามารถดูดซึมและเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้

ในสภาพแดดร้อนจัด อุณหภูมิที่แผ่นใบสูงมาก ทำให้ละอองสารระเหยไปในอากาศหมดก่อนที่จะซึมเข้าสู่ต้นพืช เปรียบเหมือนแผ่นสังกะสีที่ตากแดดจนร้อนจัด เมื่อพ่นละอองน้ำลงไป น้ำระเหยไปอย่างรวดเร็ว

3. ไม่ควรพ่นไกลโฟเซต ในช่วงเช้าเกินไปก็จะมีน้ำค้างเกาะอยู่บนใบจำนวนมาก เมื่อพ่นในขณะที่ใบเปียก ละอองสารจะไหลจากใบพืชตกลงสู่ดินหมด

ในกรณีที่มีฝุ่นเกาะบนใบหนามาก เมื่อพ่นไกลโฟเซตลงไป จะถูกอนุภาคดินในฝุ่น ดูดยึดไว้ทำให้เสื่อมฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืช

4. น้ำที่ใช้ผสมไกลโฟเซต ต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่ขุ่นด้วยตะกอนดิน และไม่ใช่น้ำกระด้าง ตะกอนดินที่แขวนลอยอยู่ในน้ำจะดูดยึด ไกลโฟเซต ไว้ทำให้เสื่อมฤทธิ์

ส่วนน้ำกระด้างหรือน้ำที่มีความเป็นด่างสูง จะมีธาตุแคลเซียมแมกนีเซียมในน้ำเป็นจำนวนมาก ธาตุเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับไกลโฟเซตทำให้สารเสื่อมฤทธิ์

วิธีแก้..หากจำเป็นต้องใช้น้ำกระด้าง คือ ใส่แอมโมเนียมซัลเฟต ผสมในน้ำเพื่อให้ แคลเซียมแมกนีเซียมทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียมซัลเฟตก่อน โดยผสมทิ้งไว้ 15 นาที ก่อนใช้ผสมไกลโฟเซต

5. เลือกอัตราการใช้สารให้เหมาะสมกับชนิดของวัชพืช กรณีวัชพืชอายุปีเดียวให้ใช้อัตราต่ำ 300-500 มล.ต่อไร่และพ่นเมื่อวัชพืชสูง5-15 ซม. หากพ่นไกลโฟเซตเมื่อวัชพืชมีต้นสูงเหรือหนาแน่นกินไป ทำให้ต้องใช้อัตราสูงขึ้นและวัชพืชอาจได้รับสารไม่ทั่วถึง ต้องพ่นซ้ำเพราะตายไม่สนิท

ส่วนวัชพืชข้ามปี ต้องใช้ในอัตราสูง1,000 มล. ต่อไร่ เพื่อให้ไกลโฟเซตมีปริมาณมากพอที่จะเคลื่อนย้ายลงไปกำจัดส่วนที่อยู่ใต้ดิน

6. หลังจากผสมไกลโฟเซตลงไปในน้ำแล้ว จึงใส่สารจับใบ เป็นลำดับสุดท้าย และควรเลือกสารจับใบที่ไม่มีประจุ เพื่อไม่ให้ไปทำปฏิกิริยากับไกลโฟเซต

สารจับใบ..จะทำหน้าที่ให้ละอองสารสัมผัสผิวใบมากขึ้น สารจึงถูกดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่สารจับใบจะผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ แต่อาจมีบางยี่ห้อที่ไม่ได้ใส่สารจับใบ อาจสังเกตได้จากราคาที่มีความแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรผสมแอมโมเนียมซัลเฟตไปในน้ำก่อนแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องผสมสารจับใบอีก เพราะมีรายงานวิจัยว่า แอมโมเนียมซัลเฟตช่วยในการดูดซึมและเคลื่อนย้ายไกลโฟเซตให้ดีขึ้นอยู่แล้ว

7. เลือกใช้หัวฉีด แบบหัวผ่า หรือ หัวปะทะ ที่พ่นละอองสารออกมาเป็นรูปพัด

8. ก่อนพ่นต้องแน่ใจว่าจะไม่มีฝนตกหลังพ่นอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง

9. หากต้องการไถพรวนดินหลังพ่นกำจัดวัชพืชแล้ว ควรเว้นระยะหลังพ่นอย่างน้อย 7-10 วันสำหรับวัชพืชที่งอกจากเมล็ด และเว้นระยะอย่างน้อย 15-20 วัน สำหรับวัชพืขข้ามปีเช่นแห้วหมู หรือ หญ้าคา

เพียงเท่านี้ การใช้ไกลโฟเซตกำจัดวัชพืชก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากและสิ้นเปลืองอีกต่อไป

เผยเคล็ดลับ !! การใช้ไกลโฟเซต ให้ได้ผลดีที่สุด
เผยเคล็ดลับ !! การใช้ไกลโฟเซต ให้ได้ผลดีที่สุด

ขอบคุณที่มา : สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button