สารพันความรู้

คลิกดูเลย !! สาเหตุของการเกิดโรครากบวมของพืชตระกูลกะหล่ำ

คลิกดูเลย !! สาเหตุของการเกิดโรครากบวมของพืชตระกูลกะหล่ำ

โรครากบวม

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Plasmodiophora brassicae Wolomin ราชนิดนี้เป็นสาเหตุของโรครากบวมของพืชตระกูลกะหล่ำ จัดเป็นราชนิดที่ไม่สร้างเส้นใย

ลักษณะการลำลาย ในระยะต้นกล้าถ้าราเข้าทำลายรากจะทำให้ต้นพืชตายได้ สำหรับต้นโตจะแสดงอาการเหลือง เหี่ยวเฉา แคระแกร็น หยุดการเจริญเติบโต ถ้าอาการรุนแรงมากเมื่อถอนต้นขึ้นมาจะพบว่าส่วนรากมีอาการบวมเป็นก้อนคล้ายกระบองเนื่องจากเชื้อราไปกระตุ้นให้เซลล์พืชเกิดการแบ่งตัวมากกว่าปกติ และมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัญหาอีกข้อคือถ้าระบาดไม่รุนแรงจะไม่แสดงอาการชัดเจนเพราะ ส่วนของต้นหรือรากที่อยู่ใต้พื้นดินทำให้สังเกตอาการค่อนข้างยาก จนกระทั่งอาการรุนแรงแล้วจึงปรากฏให้เห็นอาการโดยเฉพาะเมื่อตอนกลางวันที่อากาศร้อน ต้นด้านบนใบแสดงอาการเหลืองเหี่ยวเฉาใน

การแพร่ระบาด เชื้อราชนิดนี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ข้าทำลายพืชได้ดีเมื่ออากาศเย็นหรือที่อุณหภูมิประมาณ 12-27 องศาเซลเซียส

การป้องกันกำจัด

1. ควรตรวจpHของดินก่อนปลูก เพื่อปรับให้เป็นกลางหากพบความเป็นกรดให้ใส่ปูนขาวอัตรา 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนการปลูกพืช 6 สัปดาห์ เพื่อปรับดินให้มี pH ประมาณ 7

2.ควรอบดินด้วยการใช้ยูเรีย 1 ส่วนผสมกับปูนขาว 10 ส่วนโรยที่แปลงปลูกพืช ไถกลบและตบหน้าดินให้แน่นรดน้ำให้ดินมีความชื้นทิ้งไว้ 3 สัปดาห์จึงเริ่มไถเปิดหน้าดิน

3.ควรจัดการแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีอย่าให้น้ำขัง

4. ควรกำจัดวัชพืชหรือพืชตระกูลกะหล่ำให้หมดจากแปลงปลูกหลังเก็บเกี่ยว

คลิกดูเลย !! สาเหตุของการเกิดโรครากบวมของพืชตระกูลกะหล่ำ
โรครากบวม
คลิกดูเลย !! สาเหตุของการเกิดโรครากบวมของพืชตระกูลกะหล่ำ
โรครากบวม
คลิกดูเลย !! สาเหตุของการเกิดโรครากบวมของพืชตระกูลกะหล่ำ
โรครากบวม
คลิกดูเลย !! สาเหตุของการเกิดโรครากบวมของพืชตระกูลกะหล่ำ
โรครากบวม

ขอบคุณที่มา: facebook เพจ กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button