เตือนเกษตรกร ระวังเพลี้ยหอยเกล็ดระบาด ในมันสำปะหลัง
เตือนเกษตรกร ระวังเพลี้ยหอยเกล็ดระบาด ในมันสำปะหลัง
เพลี้ยหอยเกล็ด มักพบระบาดตามกิ่งของไม้ยืนต้น ในมันสำปะหลัง มีเพลี้ยหอยเกล็ด (cassava scale) หลายชนิดเข้าทำลาย เช่น เพลี้ยหอยเกล็ดขาว (White scale: Aonidomytilus albus) เพลี้ยหอยเกล็ดดำ (Black scale: Saissetia miranda)
สภาพที่อากาศร้อน แห้งแล้ง ติดต่อกันเป็นเวลานาน พบการระบาดของเพลี้ยหอยเกล็ดขาวในมันสำปะหลังแปลงที่ใกล้เก็บเกี่ยว หรือพบในต้นมันสำปะหลังที่กองสุมใว้ทำพันธุ์ โดยเพลี้ยหอยเกล็ดที่มีลักษณะเกล็ดสีขาวนูน ขึ้นปกคลุมเกือบทุกส่วนของมันสำปะหลัง ทั้งส่วนยอด ลำต้น กิ่ง เหง้า และหัวกรณีที่มีการปลูกมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยหอยเกล็ดติดไปกับท่อนพันธุ์ การระบาดจะมีความรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เพลี้ยหอยเกล็ด ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ใบเหลืองและร่วง แคระแกร็น หากมีเพลี้ยหอยเกล็ดปกคลุมทั้งลำต้น ทำให้ลำต้นแห้ง ต้นตาย
การป้องกันกำจัดเลือกต้นมันสำปะหลังที่ไม่มีเพลี้ยหอยเกล็ดไปทำพันธุ์แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยวิธีการเดียวกันกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ด้วยสารไทอะมีโทแซม (thiamethoxam 25% WG) หรือ สารอิมิดาโคลพริด (imidacloprid 70% WG) อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ท่อนพันธุ์ 10 นาทีการพ่นสารทางใบในมันสำปะหลังไม่ค่อยได้ผล ถ้าจะพ่นสารต้องถอนต้นที่มีการระบาดมากไปเผาทำลายแล้วพ่นบริเวณที่พบเป็นรัศมีโดยรอบสารป้องกันกำจัดแมลงที่แนะนำในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหอยเกล็ดกลุ่ม 1 พิริมิฟอสเมทิล โพรไทโอฟอส มาลาไทออน ไดอะซินอนกลุ่ม 4 ไทอะมีทอกแซม อิมิดาโคลพริด อะเซตทามิพริด โคลไทอะนิดิน (กลุ่ม 4 ควรผสมไวท์ออย 30-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)กลุ่ม 16 บูโพรเฟซีน (กำจัดระยะตัวอ่อน)อัตราการพ่นสาร มันสำปะหลังอายุ 1-3 เดือน ใช้น้ำ 60-80 ลิตร /ไร่ มันสำปะหลังอายุ 4-8 เดือน ใช้น้ำ 80-100 ลิตร/ไร่@ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์
ขอบคุณที่มา : facebook เพจ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
เว็บไซต์ lukkaset.com (ลูกเกษตร ดอทคอม) จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องราวการเกษตร ข่าวสารการเกษตร เพื่อเกษตรกรยุคใหม่ อัพเดตข่าวสาร สารพันความรู้ เทคนิคเกษตร กิจกรรม และสินค้าเกษตร พร้อมเป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรกรไทย