การเลี้ยงสุกร
การเลี้ยงสุกร
อาชีพการเลี้ยงสัตว์ที่นิยมเลี้ยงในหมู่บ้านต่างๆ ก็คือ การเลี้ยงสุกร หรือ การเลี้ยงหมู ทั้งนี้เพราะสามารถเลี้ยงเป็นฟาร์มเล็กๆจำนวนไม่กี่ตัวก็ได้ เพราะใช้พื้นที่น้อยเลี้ยงง่ายใช้แรงงานน้อย และสามารถนำเศษอาหารมาใช้เป็นอาหารของสุกรได้ นอกจากนี้มูลสุกรยังสามารถนำมาเป็นปุ๋ยหรืออาหารในบ่อเลี้ยงปลาได้ สุกรเป็นสัตว์เลี้ยงที่ขยายพันธุ์ได้เร็วมีลูกดก จึงเป็นกิจการที่ให้ผลกำไรดี ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก
– เนื้อสุกรนั้นเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเป็นส่วนมาก และ สามารถขายหรือจำหน่ายได้หลายๆตลาดทั้งในท้องถิ่นและตลาดที่รับซื้อทั่วไปในเมือง
โดยผู้คนหรือเกษตรกร สามารถเลี้ยงสุกรได้ทั้งแบบเป็นฟาร์มขนาดเล็ก,ฟาร์มขนาดใหญ่ เนื่องด้วยการเลี้ยงสุกรนั้นใช้พื้นที่ไม่มากแถมยังมีการเลี้ยงที่ง่ายและไม่สับซ้อนจนเกินไป
ในวันนี้ฟาร์มไทยจะมาแนะนำการเลี้ยงสุกรขุน เพราะการเลี้ยงสุกรขุนจะใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการเลี้ยงสุกร หรือ การเลี้ยงหมู ในแบบอื่นๆ
และแถมการเลี้ยงสุกรขุนนั้นยังให้ผลตอบแทนที่ดีอีกด้วย
– แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เลี้ยงหรือเกษตรกรก็ต้องมีเงินลงทุนไว้สำหรับใช้จ่ายในส่วนของค่าอาหารเพื่อให้สุกรมีอาหารได้กินอย่างเพียงพอด้วยเช่นกัน
– ส่วนเรื่องสถานที่การเลี้ยงนั้น เกษตรกรควรจะสร้างโรงเรือนให้อยู่ห่างจากชุมชนสักหน่อยถ้าเป็นไปได้
เพราะการเลี้ยงสุกรอาจจะทำให้มีกลิ่นที่แรงและอาจจะไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนในย่านนั้น หรือไม่เกษตรกรก็ต้องมีการจัดการกับระบบมูลสุกรหรือของเสียที่อาจจะส่งกลิ่นออกมาให้ดี แหละถ้าให้ดีควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่แพงมากจนเกินไป หรือ อาจจะใกล้แหล่งที่สามารถหาอาหารเหลือใช้จากครัวเรือน หรือระบบไร่นาเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรได้อย่างเพืยงพอ
– การตลาดเกษตรกรก็ควรศึกษาหาแหล่งตลาดที่รับซื้อสุกร ขายสุกร ทั้งที่สุกรยังมีชีวิต และตลาดที่รับสุกรชำแหละแล้วไว้ด้วย
โดยพันธุ์สุกรที่เกษตรกรหรือผู้คนทั่วไปที่เลี้ยงสุกร จะนิยมนำมาขุน ส่วมมากจะนิยมใช้ผสม 2, 3, หรือ 4 สายพันธุ์
ซึ่งจะมีลักษณะการให้ผลผลิต การเติบโต และ ความแข็งแรง ที่ดีกว่าการได้จากพ่อและแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิดพันธุ์เดียวกัน
พันธุ์ที่ส่วนมากใช้ในการผสมข้ามสายพันธุ์มีหลายพันธุ์ อย่าเช่น พันธุ์ลาร์จไวน์ พันธุ์แลนด์เรช และพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ เป็นตัน
– ฟาร์มหรือโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสุกร ควรตั้งอยู่ในที่น้ำไม่ท่วม สามารถระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมชน หรือ ตลาด ต่างๆ
โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสุกรต้องสามารถป้องกันแดด กันฝน และ กันลม ยิ่งถ้าช่วงในฤดูร้อนควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษ
– พื้นในคอกของสถานที่เลี้ยงควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด
โดยขนาดของคอกควรมีประมาณ 4 x 35 เมตร จึงจะสามารถเลี้ยงสุกรขุน ที่มีขนาด 60 – 100 กิโลกรัม ประมาณ 8 – 10 ตัว
ส่วนความยาวของคอกนั้นให้ขึ้นอยู่กับว่า จำนวนสุกรที่เกษตรกรเลี้ยงมีตำนวนมากเท่่าไหร่
– การให้อาหารสุกร
โดยสุกรนั้นเป็นสัตว์กระเพาะเดียว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อมากๆได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวมชนิดอื่นๆ
ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร จึงควรจะต้องมีโภชนาการที่ครบถ้วน อาหารสำหรับสุกรขุนส่วนใหญ่จะนิยมใช้อาหารแบบสำเร็จรูป หรือ ผู้เพาะเลี้ยง เกษตรกรบางรายอาจผสมอาหารเพื่อใช้เลี้ยงสุกรเอง ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้หัวอาหารผสมรวมกับรำ, ปลายข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ
ตามสัดส่วนที่เกษตรกรเป็นคนกำหนด และการให้อาหารสุกรแต่ละช่วงนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการบริโภคของสุกร
ในแต่ละช่วงอายุของตัวสุกร
– โดยการจัดการเลี้ยงดูแลสุกร
เกษตรกรควรเริ่มเลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ระยะที่สุกรนั้นหย่านม โดยมีน้ำหนักที่ประมาณ 20 กิโลกรัม โดยใช้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และให้สุกรกินเต็มที่ประมาณวันละ 1 – 2 กิโลกรัม จากนั้นเมื่อสุกรขุนมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนอาหารโดยใช้อาหารที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์แทน และให้สุกรกินอาหารวันละ 2.5 – 3.5 กิโลกรัม จนถึงระยะที่จะส่งตลาดเมื่อสุกรมีน้ำหนัก ประมาณ 100 กิโลกรัม โดยตลอดระยะเวลาการเลี้ยงสุกรนั้น จะต้องมีน้ำสะอาดให้สุกรกินตลอดทั้งวัน
– ด้านความสะอาดของสถานที่เลี้ยงหรือคอก
เกษตรกรควรทำความสะอาดพื้นคอกสุกรอยู่เป็นประจำ เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจจะนำโรคมาสู้ตัวสุกรได้ และอีกทั้งยังป้องกันกลิ่นจากมูลสุกรไปรบกวนชุมชนสถานที่ใกล้เคียงอีกด้วยอีกด้วย และสุกรทุกตัวต้องมีการถ่ายพยาธิ และ จัดฉีดวัคซีนตามกำหนด ที่เราได้ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุกรมีสุขภาพที่ดี
** ทั้งนี้ ก่อนผู้ที่สนใจหรือเกษตรกรคนไหน มีการตัดสินใจที่จะเลี้ยงสุกร หรือ เลี้ยงหมู จึงจำเป็นที่ควรจะต้องศึกษาข้อมูล รายละเอียด และมีการวางแผนในระบบต่างๆ ก่อนที่จะเลี้ยงให้แน่ชัด เพื่อที่เมื่อเกษตรทำการเลี้ยงสุกรไปแล้วนั้นจะได้ มีผลผลิตและกำไรอย่างที่ตั้งใจไว้
ขอบคุณที่มา : nfc.or.th