รวมลิงก์ แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง “วันขึ้นปีใหม่” ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail
รวมลิงก์ แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง “วันขึ้นปีใหม่” ผ่านเกณฑ์รับเกียรติบัตรทาง E-mail
แบบทดสอบที่ 1 ขอบคุณที่มา : ห้องสมุดประชาชนอำเภอเทพา
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 2 ขอบคุณที่มา : ห้องสมุดประชาชนอำเภอนาน้อย
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 3 ขอบคุณที่มา : ห้องสมุดประชาชน อำเภอบ้านลาด
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 4 ขอบคุณที่มา : ห้องสมุดประชาชนอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 5 ขอบคุณที่มา : โรงเรียนบ้านเพชรมงคล
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 6 ขอบคุณที่มา : ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางบาล
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 7 ขอบคุณที่มา : ศกภ.วิทยาลัยในวัง ศาลายา
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 8 ขอบคุณที่มา : งานอัธยาศัย
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 9 ขอบคุณที่มา : ห้องสมุดประชาชนอำเภอซำสูง
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
แบบทดสอบที่ 10 ขอบคุณที่มา : ศสกร.แขวงสามเสนใน
ทำแบบทดสอบ >>คลิก<<
ประวัติวันปีใหม่
วันปีใหม่ คือ วันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่สากล ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ซึ่งเป็นการนับตาม “ปฏิทินเกรกอเรียน” แต่รู้หรือไม่เมื่อในอดีตวันขึ้นปีใหม่ไทย ไม่ใช่วันที่ 1 มกราคม แต่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน และได้มีการปรับเปลี่ยนวันปีใหม่อยู่หลายครั้ง จนกระทั่งปัจจุบันมาใช้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่สากล แต่ก็ยังคงใช้วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยอยู่ด้วยเช่นกัน
ในบทความนี้เราจะพาทุกคนย้อนมาดูประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันปีใหม่สากล และวันขึ้นปีใหม่ไทย วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันอะไร พร้อมกิจกรรมวันปีใหม่ที่คนนิยมทำกันมากที่สุด เสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิตเพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ถ้าพร้อมแล้ว ตามมาดูกันเลย…ความหมายของวันขึ้นปีใหม่
วันขึ้นปีใหม่ ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายคำว่า “ปี” หมายถึง เวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ครั้งหนึ่งเป็นระยะเวลา 12 เดือน หรือราว ๆ 365 วัน ตามสุริยคติ ดังนั้น “ปีใหม่” จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 1 ปี หรือ 12 เดือนประวัติวันขึ้นปีใหม่
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียที่ได้เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยจะอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดให้นับเป็นระยะเวลา 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีกันในระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มจำนวนเดือนอีก 1 เดือน รวมเป็น 13 เดือน ในทุก ๆ 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวเซมิติก จึงได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้ง เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนมาถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ก็ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ที่ชื่อว่า “โยซิเยนิส” มาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งให้เป็น 1 ปี มี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน นั่นก็คือเดือนกุมภาพันธ์ หรือเรียกว่า “อธิกสุรทิน” จึงทำให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน เมื่อครบรอบทุก ๆ 4 ปี ทั้งนี้ วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาล คือ เวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงเวลาที่มีกลางวันและกลางคืนที่เท่ากัน ก็หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก ซึ่งวันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน หรือเรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
เมื่อปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March ได้กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม จึงทำให้พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 ได้ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยได้หักวันออกไปอีก 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน ซึ่งจะใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125 เท่านั้น ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรียน ต่อมาก็ได้ปรับปรุงแก้ไขพร้อมประกาศใช้วันที่ 1 มกราคมของทุกปี ให้เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมาประวัติวันขึ้นปีใหม่ของไทย
สำหรับวันปีใหม่ไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วทั้งหมด 4 ครั้ง ตามปฏิทินการเปลี่ยนแปลงนักษัตร และเดือนตามจันทรคติ ได้แก่
- ครั้งแรก – กำหนดให้วันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม
- ครั้งที่สอง – กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ไทยตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
- ครั้งที่สาม – วันขึ้นปีใหม่ไทยได้ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก และต่อมาก็ได้เอาทางสุริยคติแทน จึงได้กำหนดให้วันที่ 1 เมษายนของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา
ครั้งที่สี่ – ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่อีกครั้ง โดยกำหนดให้เป็นวันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นวันปีใหม่เป็นต้นมาสาเหตุในการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยจากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
แม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ ยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์มาเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย และเพื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้น ทางการจึงประชุม และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จากวันที่ 1 เดือนเมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม โดยให้เหตุผลสำคัญ ดังนี้
- เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
- ถือเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
- ยกเลิกวิธีการนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนาเพื่อมาเป็นตัวกำหนดวันต่าง ๆ
- ที่สำคัญไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมเฉลิมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันอะไร
วันปีใหม่สากล และวันขึ้นปีใหม่ไทย ตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี และยังเป็นวันหยุดทั่วโลกอีกด้วยวันปีใหม่มีความสําคัญอย่างไร
พอเริ่มต้นปีใหม่ของทุกปี ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ให้ทุกคนได้วางแผนและเป้าหมายของชีวิตในปีต่อ ๆ ไป และยังได้กำหนดว่าวันปีใหม่ทําอะไรบ้าง นอกจากนี้แล้ววันปีใหม่ยังมีความสำคัญอีกมากมาย ดังนี้
- โอกาสที่ดีในการมอบกระเช้าปีใหม่ เพื่อเป็นของขวัญให้กับผู้ใหญ่และคนที่รัก
- วันที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา มีความสุขร่วมกัน
- ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนด้วยการท่องเที่ยว ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว
กิจกรรมวันปีใหม่มีอะไรที่น่าสนใจ
วันปีใหม่ นับเป็นช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน นอกจากนี้ยังเป็นวันที่ทุกคนทั่วโลกเฉลิมฉลอง ทุกสถานที่ก็ได้จัดกิจกรรมปีใหม่ มีการประดับไฟตามท้องถนน ร้านค้า พร้อมกับ Count Down ตามสถานที่ต่าง ๆ และยังได้มีการทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม ปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นต้นกิจกรรมที่คนไทยนิยมทำในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่
- สวดมนต์ข้ามปี ถือเป็นกิจกรรมสายบุญที่จะทำกิจกรรมนี้เป็นประจำทุกปี โดยจะนั่งสวดมนต์ตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม ข้ามคืนไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม
- การทำความสะอาดบ้าน ถือเป็นการต้อนรับปีใหม่ที่ดีด้วยความเชื่อในเรื่องของของฮวงจุ้ยของบ้าน ถ้าหน้าบ้านรกสกปรก จะทำให้เงินทองไม่ไหลเข้าบ้าน แถมยังขัดขวางพลังโชคลาภอีกด้วย
- การทำบุญตักบาตร ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของปี ด้วยการทำบุญใส่บาตร เพื่อความสิริมงคลแก่ชีวิต
- กราบขอพรจากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ที่เคารพในวันขึ้นปีใหม่ เพื่อจะได้รับพรอันประเสริฐแก่ชีวิต
- เข้าร่วมพิธีกรรมแก้ปีชง ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ของจีน เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตาค่อนข้างจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน และถ้าปีนักษัตรเกิดเป็นปีชงของเรา อาจจะมีแต่เรื่องไม่ดีเข้ามาในชีวิต จึงทำให้ต้องมีการแก้ชงกันทุกปี
- จัดงานรื่นเริงเฮฮาในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือสถานที่ต่าง ๆ เพื่อพบปะสังสรรค์
- มอบของขวัญปีใหม่ให้แก่กัน หรือมีการจัดกิจกรรมจับฉลากของขวัญปีใหม่ เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดี