แจกสื่อ

ดาวน์โหลดฟรี รายงานการศึกษาวิจัยสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ดาวน์โหลดฟรี รายงานการศึกษาวิจัยสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ขอบคุณที่มา : สถาบันสังคมศึกษา สพฐ.

ดาวน์โหลดหนังสือ >>คลิก<<

การศึกษาวิจัย เรื่อง สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหนึ่งในนโยบาย quick win ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ที่ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการด าเนินการเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ตามบทบาท และภารกิจของหน่วยงาน ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษาโดยส านักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ จึงได้ด าเนินการศึกษาวิจัยเรื่องเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ในลักษณะการวิจัยคู่ขนานกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่จะต้องจัดตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และจัดท าเป็นข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเน้นศึกษาแบบประเมินสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอนในด้านผู้เรียนครูผู้สอน หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อ/ อุปกรณ์การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ส านักงานฯ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากหลายภาคส่วนในการให้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณจัดท าเป็นแบบสอบถามออนไลน์สอบถามไปยังสถานศึกษาทุกสังกัดทั่วประเทศ และข้อมูลเชิงคุณภาพมาจากข้อเสนอแนะเพิ่มเติม การสนทนากลุ่มย่อยครูผู้สอนและผู้เรียน รวมถึงการปรึกษาหารือผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ อย่างไรก็ดีในอดีตส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้เคยมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ พบปัญหาร่วมสมัยของการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ได้แก่ ผู้เรียนไม่เห็นความส าคัญของวิชาประวัติศาสตร์ การจัดเวลาสอนในหลักสูตรที่ไม่เพียงพอ ท าให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ครบถ้วนตามเนื้อหาและไม่สามารถลงลึกในรายละเอียด สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ สถานศึกษาให้ความส าคัญน้อยและไม่ค่อยจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาสื่อในกลุ่มสาระประวัติศาสตร์ รวมทั้งครูที่สอนวิชาประวัติศาสตร์เองก็ไม่ได้จบการศึกษาวิชาเอกประวัติศาสตร์โดยตรง เป็นต้น ซึ่งจากสภาพปัญหาในอดีตที่เคยศึกษาวิจัยถือว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในประเทศยังไม่ประสบความส าเร็จเท่าที่ควร

ในปี 2564 จึงถือได้ว่าเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ที่ทุกฝ่ายหันมาให้ความสนใจต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการศึกษาวิจัยทางการศึกษาของประเทศ จึงมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลจากการศึกษาวิจัย รวมถึงเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เกิดการวางรากฐานใหม่ของการจัดการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ให้มีความน่าสนใจ เปิดโอกาสให้มีคิดวิเคราะห์ ถกแถลงประวัติศาสตร์ในหลากหลายแง่มุมบนข้อเท็จจริง และเกิดชุดความคิดหรือองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน เพื่อน าวิธีการบนชุดความคิดไปใช้เป็นฐานในการด าเนินชีวิต ส าหรับการเป็น “คนไทย” ที่จะใช้ชีวิตต่อไปใน “ประเทศไทย”

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button